วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ท่านอาจารย์วิมลจันทร์ จันทรวิโรจน์



 
 
เริ่มวิเคราะห์ วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๕๔ น. ด้วยวิชาทักษายุค

บทเรียน  จากดวงกำเนิดของท่านอาจารย์ฯ

ท่านเกิดวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๘๗ ตรงกับ คืนวันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก เวลาประมาณ ๐๒ น.เศษ (หมายเหตุ วันเกิดตามหลักฐานทางราชการ คือ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๘๗)

หลายท่านที่ศึกษาวิชาทักษายุค เมื่อได้เห็นรูปดวงทักษาของท่านอาจารย์วิมลจันทร์แล้ว คงมีคำถามขึ้นว่า  เพราะเหตุใด ท่านจึงเป็นผู้ที่มีความเพียรเป็นเลิศ และประสพความสำเร็จในการศึกษาวิชาทักษายุค ถึงขั้นสามารถเป็นครูอาจารย์ได้ 

ทั้งที่ในดวงทักษาของท่านอาจารย์ฯ   มีดาวคู่ธาตุเพียงคู่เดียว คือ อาทิตย์(๑) ซึ่งเป็นดาวปีเกิด กับพระเสาร์(๗) ซึ่งเป็นดาววาสนา โดยไม่มีดาวคู่สมบัติสนับสนุน











 
คำถามดังกล่าวข้างต้น พวกเรานักศึกษา  สามารถค้นหาคำตอบนั้นได้จาก ดวงทักษายุค ๑๒ ราศี      ซึ่งแจกแจงผลต่อเนื่องจากดวงทักษา - ดวงภพ – ดวงชาติคือ

เมื่อเราขับดาว ตามกฎเกณฑ์ของทักษายุคแล้ว ก็จะได้ดวงทักษายุค ๑๒ ราศีดังนี้

1. ลัคนาของท่านอาจารย์ฯ  สถิตที่ราศีมีนธาตุน้ำ
พระเกตุ(๙)  กุมลัคน์   โดยมีอาทิตย์(๑) มหาจักร กุมมฤตยู(๐) และจันทร์(๒) นิจ ตรีโกณร่วมธาตุ    
   1.1 สาเหตุที่ทำให้ท่านมีปัญหาในเรื่องของสายตานั้น เกิดจากการที่ จันทร์ (๒)ดาวอายุเป็นนิจ สัมพันธ์ถึงอาทิตย์(๑) ซึ่งกุมมฤตยู(๐)  อาทิตย์หมายถึงดวงตาเมื่อกุมมฤตยู(๐) ย่อมมีผลให้เกิดปัญหากับดวงตาขึ้น       
   1.2 จันทร์(๒) เป็นคู่สมบัติกับศุกร์(๖)     ซึ่งเป็นดาวตนุหรือตัวท่านอาจารย์ ดังนั้น ผลในข้อ 1.1 จึงบังเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง  

2. ท่านอาจารย์ฯ เกิดในเดือน ๖
ศุกร์(๖) ดาวตนุเป็นประ สถิตที่ราศีเมษธาตุไฟ โดยพุธ(๔) มหาจักร – ราชาโชค สถิตร่วมธาตุที่ราศีสิงห์
   2.1 แม้ว่าดาวศุกร์(๖)ธาตุน้ำ ซึ่งเป็นดาวตนุ และเป็นประ  แต่เมื่อไปสถิตที่ราศีเมษ  ราศีธาตุไฟเรือนของอังคาร(๓)        ด้วยอำนาจของ(๓)เจ้าเรือนและธาตุไฟประจำราศี  ส่งผลให้ศุกร์(๖) ดาวตนุซึ่งเป็นธาตุน้ำนั้นกระฉับกระเฉง  ขยันขันแข็ง    
   2.2 อังคาร(๓)ธาตุลม เจ้าเรือนราศีเมษ ไปอยู่ที่ราศีมิถุนธาตุลม  เรือนของพุธ(๔) ดาวศรี จึงถือว่าไม่เสีย  และร่วมธาตุกับราหู(๘) ธาตุลม         ซึ่งจะได้อธิบายความสัมพันธ์ในข้อต่อ ๆ ไป    
   2.3 ภูมิพุธ(๔) ในดวงทักษา ไม่มีดาวปรากฏ  หากแต่เมื่อเราดูในดวงทักษายุค ๑๒ ราศี  เราจะเห็นพุธ(๔) ร่วมธาตุกับศุกร์(๖) ดาวตนุ        โดยสถิตอยู่ที่ราศีสิงห์เรือนของอาทิตย์(๑)       จากกฎที่ว่า  ดาวใดที่ไม่ปรากฏในดวงทักษา  แต่เมื่อขับดาวเข้าดวงทักษายุค ๑๒ ราศีแล้ว     ดาวนั้นสถิตอยู่ร่วมหรืออยู่ในเรือนของดาวที่ปรากฏในดวงทักษา ก็ให้ถือเสมือนว่า ดาวนั้นปรากฏขึ้นในดวงทักษาเช่นกัน    
   2.4  พุธ(๔)  เมื่อปรากฏขึ้นด้วยเหตุผลในข้อ2.3 จึงถือเป็นคู่ธาตุกับศุกร์(๖) ดาวตนุ และเป็นคู่สมบัติกับราหู(๘)  ตามกฎของวิชาทักษายุค  และยังเป็นคู่พิเศษกับอาทิตย์(๑) อีกด้วย

พุธ(๔) ในดวงทักษายุค ๑๒ ราศี  ทรงตำแหน่งที่เป็นคุณถึง  2 ตำแหน่ง คือเป็นมหาจักรและราชาโชค และเป็นดาวศรีในดวงทักษา จากเหตุในดวงทักษา มาแสดงผลชัดเจนในดวงทักษายุค ๑๒ ราศี  จึงถือได้ว่า ศุกร์(๖) ดาวตนุซึ่งหมายถึงท่านอาจารย์วิมลจันทร์นั้น มีดาวคู่ธาตุและคู่สมบัติครบถ้วน  

3. การที่ท่านอาจารย์วิมลจันทร์   สามารถร่ำเรียนวิชาทักษายุค ต่อจากท่านอาจารย์ ส. สัจจญาณ  จนสำเร็จ       สามารถเป็นครูอาจารย์ชั้นเลิศของลูกศิษย์ได้นั้น ก็สืบเนื่องมาจาก        
   3.1 ศุกร์(๖) ตนุของท่าน  นอกจากเป็นดาววิชาแล้ว ก็ยังเป็นกาลกิณีอีกด้วย จึงมีผลให้ท่านมีอุปสรรคในการร่ำเรียนวิชาคือเรื่องของสายตา      หากแต่ด้วยอำนาจของพุธ(๔) คู่ธาตุ  ซึ่งเป็นดาวศรีที่ทรงคุณ จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้อ 2.4  จึงทำให้ท่าน มีความพากเพียร(วิริยะ)       ที่จะศึกษาวิชาตามที่ท่านได้ตั้งใจ(อธิษฐาน) ไว้จนประสพกับความสำเร็จในที่สุด        
   3.2 ที่ราศีตุลย์ธาตุลม ในดวงทักษายุค ๑๒ ราศี       ราศีนี้ถือเป็นราศีของศุกร์ (๖) ดาวตนุ ซึ่งก็คือตัวท่านอาจารย์ฯ มีดาวราหู(๘) มาสถิตอยู่     พระราหู(๘) นี้ถือเป็นดาวตัวแทนของวิชาทักษายุค      เมื่อมาสัมพันธ์ถึงตัวท่านอาจารย์ และอยู่ในธาตุลม จึงส่งผลให้ท่านอาจารย์ฯ สามารถเรียนรู้วิชานี้ได้อย่างรวดเร็วและได้ผลดี        
   3.3  เมื่อศุกร์(๖) ดาวตนุ – วิชา - อธิษฐาน       ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก คู่ธาตุพุธ(๔) ดาวศรี – สมบัติ - วิริยะ และคู่สมบัติราหู(๘)   ซึ่งเป็นดาวตัวแทนวิชาทักษายุค      และในดวงชาติ ศุกร์(๖) ดาวตนุ อยู่ในภูมิระ ราชครู   ดังนั้น การที่ท่านอาจารย์วิมลจันทร์ สามารถร่ำเรียนวิชาทักษายุค     ต่อจากท่านอาจารย์ ส.สัจจญาณ  จนสำเร็จสามารถเป็นครูอาจารย์ชั้นเลิศของลูกศิษย์ได้นั้น     ก็ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น /

                                   ..........................................................................


         
          ท่านอาจารย์วิมลจันทร์ ท่านได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕ 
          ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๕ ปีมะโรง  ชำระอายุแล้วได้ ๖๗ ปี ๑๐ เดือน ๒๘ วัน 
        อายุยุคอยู่ที่พระศุกร์(๖)  ปีจรอยู่อาทิตย์(๑)  เดือนจรอยู่อังคาร(๓) วันจรอยู่พฤหัส(๕)

1. อายุยุค อยู่พระศุกร์(๖)
ซึ่งก็คือตนุ+กาลกิณีเดิม  ในดวงทักษายุค ๑๒ ราศีขณะอายุย่าง ๖๘ ปี  ดาว ๖ กุมดาว ๔ ศรีเดิม มนตรีจร   ซึ่งได้ตำแหน่งเกษตรในราศีมิถุนร่วมกับดาว ๙   ซึ่งหมายถึง  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  ก็เท่ากับว่า ดาว ๖ ตนุ ได้รับการคุ้มครองด้วยกุศลเดิมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์  แต่ก็มีมฤตยู(๐) ที่ราศีกรกฎเรือน ๒ อายุเดิม
   
2.จุดน่าสังเกต คือ จันทร์(๒) ซึ่งเป็นดาวอายุเดิม  พักตร์ (คือรอคอย) กุมดาวราหู(๘)อายุจร  ในราศีพิจิก เรือนของ ๓ อุตสาหะจร ของปีมะโรง  อาจกล่าวได้ว่าอายุเดิมและอายุจร รออุตสาหะ ๓

3. ๓ อุตสาหะจร กุม ๕ มรณะเดิม ที่ราศีกันย์เรือนของ ๔ เท่ากับอุตสาหะและมรณะ ถึงตนุ

4. ดาวอาทิตย์(๑) จุดอายุจร เป็นอุจอยู่ในราศีเมษ เรือน ๓ อุตสาหะ
(จุดนี้กระมังที่ทำให้ท่านจากไปอย่างกะทันหัน เพราะอาทิตย์มีอายุแค่ ๑ เดียว)


                                     .........................................................................








5. ในขณะอายุจรย่าง 67 ปี 11 เดือน
อายุเดือนจร ตกอยู่ที่ภูมิ ๓  ก็ย่อมส่งผลให้ภูมิ  ๒ อายุเดิมเป็นมรณะจร   ในดวงทักษายุค ๑๒ ราศี ขณะอายุจร 67 ปี 11 เดือน ดาว ๖ ตนุเดิม ไปอยู่ราศีกรกฎเรือนของ ๒ อายุเดิม มรณะจร และ ๒ ก็ไปอยู่ราศีตุลย์ เรือนของ ๖ ตนุเดิมร่วมกับดาวเกตุ ๙ เท่ากับมรณะจรเดือน ถึงตนุเดิม

6. ดาว ๕ มรณะเดิม ศุภะจร สถิตอยู่ราศีเมษ  เรือนของ ๓ อุตสาหะจรและเป็นจุดอายุเดือนจร
ในขณะอายุ 68 ปี 11 เดือน  ดาว ๕ เล็งดาว ๒  หรือตรึงดาวอายุเดิมซึ่งก็คือ ๒ เอาไว้
ดาว ๓ อุตสาหะจรปี อยู่ราศีพิจิกเป็นเกษตร ร่วมเรือนกับ ๕ ดังนั้น ๓ ดาวอุตสาหะจร จึงย่อมส่งผลถึง ๕ ที่ไปตรึงดาว ๒ ไว้    

7. ดาวราหู อายุจร – วิบัติจร อริจร สถิตอยู่ราศีมังกร วาสนาเดิม แต่เป็นกาลีจรในปีนี้ ได้ตำแหน่งมหาจักร เล็งดาว ๖ ตนุเดิม พูดอีกอย่างก็คือตรึงดาว ๖ ไว้อีก 1 จุด นอกเหนือจาก ๕ ตรึง ๒ ไว้ก่อนหน้านี้ 1 จุดแล้ว    

8. ดาว ๗ กาลีจรและเป็นวาสนาเดิม ไปสถิตราศีกุมภ์ เรือน ๘ อายุ+วิบัติจร อริจร ย่อมส่งผลถึงราหู ซึ่งไปตรึงดาว ๖ ตนุไว้

9. ในเดือน ๑๑ ที่เสียชีวิต  ดาว ๔ ซึ่งเดิมเข้มแข็งและกุม ๖ ตนุเดิมนั้น ได้ไปสถิตอยู่ราศีมีน เป็นนิจและเป็นประ  กลายเป็นไม่มีพลัง  ซ้ำดาว ๖ ดาวตนุ เข้าไปอยู่ในราศีกรกฎเรือนของ ๒ อายุเดิม  และเป็นมรณะจร ของอายุเดือนจร  

                                 .........................................................................
 







10. วันที่เสียชีวิต
ในดวงทักษายุค ๑๒ ราศี ดาวอายุเดิมและจร ซึ่งก็คือดาว ๒ และ ๘ ไปอยู่ที่ราศีธนูเรือน ๕ มรณะเดิม

11. ๕ มรณะเดิม ไปอยู่ที่ราศีกุมภ์เรือนของ ๘ อายุ – วิบัติจร โดยมีมฤตยู(๐) เล็งอยู่ที่ราศีสิงห์ จุดอายุปีจร
   
12. ที่ราศีพิจิก เรือนของ ๓ อุตสาหะจร ๑ จุดอายุจร กุม ๖ ตนุเดิมและจุดอายุยุค กุม ๗ กาลกิณีจรและวาสนาเดิม กุมดาว ๙  ส่วน ๓ อุตสาหะจรไปเป็นเกษตรที่ราศีเมษ จึงย้ำความหมายแน่นนอนในเรื่องของการอุตสาหะให้เกิดขึ้น และการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็ด้วยอนุภาพของดาวเกตุ ที่อยู่ร่วมด้วย
   
13. ดาวพุธ (๔) ซึ่งเป็นศรีเดิมและมนตรีจร ซึ่งเดิมเคยเข้มแข็งเป็นเกษตร สามารถคุ้มครองเจ้าชะตาได้ ในวันที่เสียชีวิต กลับไปสถิตที่ราศีมีน ได้ตำแหน่งประ-นิจ ไม่มีกำลัง ทานอานุภาพของดาว ๓ อุตสาหะได้            

จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่า ในวันที่ท่านอาจารย์วิมลจันทร์เสียชีวิตนั้น ดาวอยู่ในจุดเสียสัมพันธ์ถึงกันหมด  และเวลาที่ท่านเสียชีวิตน่าจะอยู่ใน ช.ม.ดาว ๕ คือ ๐๒.๐๐ น. ของวันที่ ๒๙ มีนาคม โดยท่านได้นอนหลับ จากไปด้วยอาการสงบภายในบ้านพักของท่าน

ซึ่งก็ตรงกับคาถาในดวงเดิมของท่าน ที่ภูมิ ๕ นี้คือ อุตสาหะ – มรณะ – เคหา – เพชฌฆาต                                                                                                                                             
นักเรียนทักษายุค กรุงเก่า
เขียนเสร็จ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๑.๑๑ น.


       บุญกุศลใดๆ ที่บังเกิดจากดวงครู-อาจารย์แม่วิมลจันทร์  จันทรวิโรจน์ ที่เป็นวิทยาทานนี้      
                  ขอส่งผลให้อาจารย์แม่มีความสุขในสัมปรายภพด้วยเทอญ                                                                                                    
เหล่านักเรียนวิชาทักษายุค  โดย : putti19   วันที่ : ๘ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๒๑:๐๐:๓๗

สอบตก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น